Waters of Life

Biblical Studies in Multiple Languages

Search in "Thai":
Home -- Thai -- John - 001 (Introduction)
This page in: -- Albanian -- Arabic -- Armenian -- Bengali -- Burmese -- Cebuano -- Chinese -- Dioula -- English -- Farsi? -- French -- Georgian -- Greek -- Hausa -- Hindi -- Igbo -- Indonesian -- Javanese -- Kiswahili -- Kyrgyz -- Malayalam -- Peul -- Portuguese -- Russian -- Serbian -- Somali -- Spanish -- Tamil -- Telugu -- THAI -- Turkish -- Twi -- Urdu -- Uyghur -- Uzbek -- Vietnamese -- Yiddish -- Yoruba

Next Lesson

ยอห์น - แสงสว่างส่องในความมืด
ศึกษาพระกิตติคุณของพระคริสต์ ตามคำบอกเล่าของยอห์น

เบื้องต้นพระกิตติคุณยอห์น


พระคริสต์ได้เรียกสาวกของพระองค์ให้เป็นพยาน กระนั้น พระองค์ไม่ได้เขียนเรื่องราวชีวิตของตนเอง และไม่ได้ส่งจดหมายไปยังคริสตจักรต่าง ๆ แต่ทว่าบุคลิกภาพของพระองค์นั้น ได้ทำให้เกิดความประทับใจยิ่งใหญ่ในหัวใจของเหล่าสาวก ซึ่งผู้ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้นำเข้ามาเพื่อมอบสง่าราศีแด่พระเยซูคริสต์ และพวกเขาได้เห็นความรัก ความถ่อมใจ การตาย และฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ ที่เต็มไปด้วยสง่าราศีอย่างกับเป็นบุตรคนเดียวของพระบิดา อันท่วมท้นไปด้วยความรักและความจริง ในขณะที่ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ มัทธิว มาระโก และลูกา ได้กระทำการและกล่าวถ้อยคำเหล่านี้ ในขณะเดียวกันการกระทำของพระเยซูและอาณาจักรของพระเจ้านั้นชัดเจนยิ่งขึ้นราวกับว่านั่นเป็นจุดมุ่งหมายของการกลับมาของพระองค์ ยอห์นบรรยายอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่รีรอถึงบุคคลที่อยู่ลึกสุด ภายในตัวตนของพระเยซูและความรักอันบริสุทธิ์ของพระองค์ ด้วยเหตุผลนี้ พระกิตติคุณยอห์นจึงได้รับการกล่าวขานให้เป็นพระกิตติคุณหลัก ซึ่งเป็นยอดมงกุฎของหนังสือทุกเล่มในพระคริสตธรรมคัมภีร์

ใครเป็นผู้แต่งพระกิติคุณเล่มนี้

บิดาทั้งหลายของคริสตจักรในศตวรรษที่สองเห็นด้วยว่ายอห์น ซึ่งเป็นสาวกของพระเยซู เป็นผู้เขียนหนังสือซึ่งไม่มีใครเหมือนเล่มนี้ ในตอนนั้นยอห์นซึ่งเป็นผู้ประกาศ ได้กล่าวนามของอัครทูตหลายคน แต่ไม่เคยกล่าวถึงชื่อของยากอบ น้องชายของท่านหรือตนเองเลย นั่นเพราะท่านไม่ได้พิจารณาว่าตนเองสมควรได้รับการกล่าวถึงเหมือนกับพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอด อย่างไรก็ตาม ท่านบิช็อป อิเรนาอุส แห่งเมืองลียองประเทศฝรั่งเศสได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่ายอห์น คือสาวกของพระเจ้า ผู้เอนกายไปซบที่พระทรวงของพระองค์ในช่วงเวลาอาหารมื้อสุดท้ายนั้น และเป็นผู้ที่เขียนพระกิตติคุณเล่มนี้ขึ้น ในขณะที่กำลังรับใช้ในเมืองเอเฟซัสของพวกอะนาโตเลีย ระหว่างช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิทราจัน (ปี 98 ถึง 1:7 ก่อนคริสตกาล)

ผู้วิจารณ์บางคนคิดว่า ยอห์นผู้เขียนพระกิตติคุณเล่มนี้ ไม่ได้เป็นสาวกผู้ที่ติดตามและไปกับพระเยซู แต่ว่าเขาเป็นเพียงหนึ่งในผู้ปกครองของคริสตจักรเมืองเอเฟซัส ผู้เคยเป็นสาวกของอัครทูตยอห์น และพระกิตติคุณนี้ได้ถูกเขียนขึ้นในเวลาต่อมา ผู้วิจารณ์เหล่านี้เป็นเพียงนักฝันและไม่เคยรู้จักพระวิญญาณแห่งความจริงซึ่งไม่เคยมุสา เพราะว่าอัครทูตยอห์นได้เขียนพระกิตติคุณเป็นคนแรก เมื่อท่านกล่าวว่า “และเราก็รับเอาพระสิริไว้” ดังนั้น ผู้เขียนพระกิตติคุณเล่มนี้เป็นหนึ่งในคำพยานมากมายเพื่อชีวิต การตาย และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู แต่ว่าเพื่อน ๆ ของยอห์นเป็นผู้เพิ่มเติมในตอนท้ายของพระกิติคุณนี้ โดยกล่าวว่า “นี่คือสาวกผู้นี้แหละที่เป็นพยานถึงสิ่งเหล่านี้ และเราทราบว่าคำพยานของเขาเป็นความจริง” (ยอห์น 21:24) พวกเขาได้เน้นถึงบุคลิกลักษณะของยอห์น ที่ตั้งตนแตกต่างไปจากอัครทูตคนอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้าได้ใช้เพื่อที่จะรักพระองค์และเอนกายอยู่ใกล้กับพระทรวงของพระองค์ “พระองค์เจ้าข้า คนนั้นคือใคร” (ยอห์น 13:25)

ยอห์นเป็นคนหนุ่มเมื่อพระเยซูเรียกให้เขาติดตามพระองค์ไป เขาเป็นคนที่อ่อนเยาว์ที่สุดในบรรดาอัครทูตทั้งสิบสองคนและเป็นเพียงชาวประมง บิดาชื่อเศบดีห์และมารดาชื่อซาโลเม อาศัยอยู่กับครอบครัวในเมืองเบธไซดาที่ฝั่งทะเลสาบเมืองเบเรียส และเข้าร่วมกับเปโตร อันดรู และน้องชายของตนเองนามว่ายากอบ โดยเดินทางไปพร้อมกับฟิลิป และนาธานาเอล ขณะเมื่อพวกเขาเดินทางลงไปด้วยกันยังหุบเขาจอร์แดน เพื่อไปพบยอห์นผู้ให้บัพติศมาซึ่งกำลังเรียกให้มีการสารภาพบาป โดยที่ผู้คนต่างก็รีบเร่งไปหาเขาและท่ามกลางพวกเขาเหล่านั้น นั่นคือ ยอห์น บุตรชายของเศบดีห์ ผู้ขอการอภัยบาปและขอรับการบัพติศมา จากมือของผู้ให้บัพติศมา ณ แม่น้ำจอร์แดนนั่นเอง ยอห์นผู้นี้อาจเป็นญาติของครอบครัว อันนาส พระที่เป็นปุโรหิต เพราะพวกนั้นต่างรู้จักกับยอห์นดี และเขายังมีสิทธิเข้าไปในพระราชวังอีกด้วย ดังนั้น เขาคงจะมีความใกล้ชิดกับครอบครัวของปุโรหิต จอร์แดน ไปหายอห์นผู้ให้บับติสมาบับติสมา และน้องชายของเขานามว่ายากอบ ไปพร้อมกับฟิลิปi=kpg-เพราะยอห์นยังอ้างในพระกิตติคุณถึงสิ่งที่ผู้ประกาศข่าวประเสริฐไม่ได้กระทำตามและเป็นสิ่งที่พวกแบ็บติสได้กล่าวเกี่ยวกับพระเยซู เช่น พระองค์เป็นพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ที่ปลดเปลื้องบาปของโลก ด้วยเหตุนี้อัครทูตยอห์น โดยการนำของพระวิญาณบริสุทธิ์ จึงได้กลายเป็นสาวกผู้รับรู้ถึงความรักของพระเยซูพระเจ้ามากยิ่งกว่าใครอื่นใดทั้งหมด

ความสัมพันธ์ระหว่างยอห์น กับ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐอีกสามท่าน

เมื่อยอห์นได้เขียนพระกิตติคุณนั้น เป็นเวลาที่พระกิตติคุณเล่มอื่น ๆ คือ มัทธิว มาระโก และลูกา ได้ถูกเขียนขึ้นและเป็นที่รู้จักในคริสตจักรมาสักระยะหนึ่งแล้ว ผู้ประกาศข่าวประเสริฐทั้งสามได้ผลิตหนังสือบนพื้นฐานของหนังสือฮีบรูฉบับดั้งเดิม โดยอัครทูตได้รวมตัวกันผ่านทางมัทธิว ผู้ที่ได้กล่าวถึงพระเยซูไว้มากมายและเป็นเวลาหลายปีในขณะที่พระองค์ยังไม่เสด็จกลับมา รวมถึงการกระทำมากมายของพระเยซูและเหตุการณ์ในชีวิตของพระองค์ ซึ่งเกี่ยวพันกับสิ่งที่รวบรวมไว้แต่อาจจะแตกต่างออกไป และผู้ประกาศข่าวประเสริฐได้รักษาสิ่งนี้ไว้อย่างดียิ่งเพื่อส่งต่องานเขียนด้วยความเที่ยงตรงและแม่นยำ แต่ลูกาผู้เป็นแพทย์ได้พึ่งพาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตั้งแต่ที่เขาได้พบกับนางมารีย์ มารดาของพระเยซู และได้พบกับพยานคนอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม ตัวของยอห์นเอง เป็นแหล่งที่สำคัญเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เขาไม่ต้องการจะตอกย้ำข่าวสารและการกล่าวที่เป็นที่รู้จักกันแล้วในคริสตจักร แต่เขาต้องการจะเพิ่มเติมเข้าไปอีก ในขณะที่พระกิตติคุณทั้งสามได้ประกาศการกระทำของพระเยซูในแถบกาลิลี โดยชี้ไปที่การเดินทางครั้งหนึ่งสู่เยรูซาเล็มที่พระเยซูต้องไปในช่วงการปรนนิบัติรับใช้ และพระองค์ได้พบกับความตายที่นั่น พระกิตติคุณฉบับที่สี่สำแดงให้เห็นถึงสิ่งที่พระเยซูได้กระทำในเยรูซาเล็มมาก่อนหน้านี้ ตลอดระยะเวลาและหลังจากทำพันธกิจของพระองค์ในแถบกาลิลี ยอห์นได้เป็นพยานต่อเราว่า พระเยซูได้อยู่ที่นั่นสามครั้งในเมืองหลวงของประเทศนั้น ในที่ ๆ ผู้นำของชนชาติของพระองค์ได้ปฎิเสธพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และหลังจากการต่อต้านพระองค์เพิ่มพูนขึ้น พวกเขาก็ส่งพระองค์สู่การตรึงกางเขน ดังนั้น ความสำคัญของยอห์นก็คือเขาได้สำแดงพันธกิจของพระเยซูท่ามกลางพวกยิวในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิมนั่นเอง

ผู้ประกาศคนที่ 4 ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอัศจรรย์หลายประการที่พระเยซูได้กระทำแต่ได้เอ่ยถึงเพียงหกประการเท่านั้น ยอห์นต้องการทำให้สิ่งนั้นกระจ่างแจ้งด้วยอัศจรรย์เช่นนี้หรือ ท่านได้ประกาศพระคำของพระเยซูในแบบของผู้ที่ได้กล่าวว่า “เราเป็น” และด้วยลักษณะเช่นนี้ ท่านได้อธิบายถึงบุคลิกลักษณะของพระองค์แต่ผู้ประกาศสามคนแรกกลับได้ให้ความสนใจ และได้กล่าวถึงการกระทำและชีวิตของพระองค์ยอห์นนั้นมุ่งเน้นมากกว่าในการให้ภาพพระเยซูอย่างกับที่เป็นบุคคลและในพระสง่าราศีของพระองค์ต่อหน้าต่อตาของเรา แต่ยอห์นได้รับคำพูดเหล่านี้มาจากที่ใด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่พบในงานเขียนของผู้อื่นถึงสิ่งที่พระเยซูได้กล่าวถึงพระองค์เอง นั่นคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ได้เตือนยอห์นถึงสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาหลังเทศกาลเพนเตคอส แต่ยอห์นได้สารภาพในเวลาที่ต่างกันว่า พวกสาวกไม่เข้าใจความจริงของพระวจนะบางข้อซึ่งพระเยซูได้กล่าวไว้จนกระทั่งเวลาหลังจากการฟื้นคืนพระชนม์และการเสด็จลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์เหนือพวกเขา ในลักษณะเช่นนี้ยอห์นได้รับรู้ต่อมา เกี่ยวกับ ความหมายของพระวจนะของพระเยซูซึ่งพระองค์ได้พูดเกี่ยวกับตนเอง ในที่ซึ่งมีคำวลีว่า “เราเป็น” พระคำเหล่านี้มีลักษณะที่โดดเด่นแห่งข่าวประเสริฐซึ่งไม่เหมือนใคร

ยอห์นได้เอ่ยถึงพระวจนะของพระเยซูเช่นกัน ซึ่งพระองค์ได้พูดเป็นข้อเปรียบเทียบถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น ความสว่างและความมืด วิญญาณและร่างกาย ความจริงและความหลอกลวง ชีวิตและความตาย และการมาจากเบื้องบนและเบื้องล่าง ไม่ง่ายที่เราจะพบข้อเปรียบเทียบซึ่งแสดงถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกันเช่นนี้ในคำสอนอื่น ๆ แต่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เตือนยอห์นหลังเวลาหลายปี ในขณะที่เขาได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ อิทธิพลของกรีกมีเหนือพระวจนะซึ่งพระองค์ได้กล่าวไว้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทำให้ยอห์นเห็นชัดเจนว่าพระองค์ไม่เพียงแต่พูดในภาษาของชนเผ่าฮีบรูเท่านั้น แต่ยังใช้วลีภาษากรีกอีกด้วยเพื่อประชาชาติทั้งหลาย

จุดมุ่งหมายสำหรับพระกิตติคุณยอห์น คืออะไร

ยอห์นไม่ต้องการวางพระเยซูเบื้องหน้าในลักษณะที่เป็นฝ่ายวิญญาณซึ่งเราสามารถจินตนาการได้หรือเป็นในทางปรัชญา แต่เขามุ่งเน้นมากกว่าในเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการเสด็จลงมาบังเกิดของพระองค์รวมทั้งความอ่อนแอ และความต้องการของพระองค์ในขณะที่ถูกตรึงบนกางเขนนั้น เขายังได้ทำให้ชัดเจนว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของมนุษยชาติไม่ใช่สำหรับชาวยิวเท่านั้น เพราะว่าพระองค์เป็นพระเมษโปดกผู้ที่ขจัดความบาปออกจากโลกนี้ยอห์นยังยืนยันต่อเราว่าพระเจ้านั้นรักมนุษยชาติทั้งปวงมากเพียงไร

เขาได้เอ่ยถึงสิ่งเหล่านี้ให้เป็นวิธีและพยานหลักฐานข้อหนึ่ง เพื่อให้ไปถึงหัวใจและแกนหลักของพระกิตติคุณเล่มนี้ตัวอย่างเช่น พระเยซูคริสต์เป็นบุตรของพระเจ้า และนิรันดร์ของพระองค์ได้ปรากฏให้เห็นในชีวิตบนโลกนี้ในความเป็นพระเจ้า ในความถ่อมใจ และในสิทธิอำนาจแห่งความอ่อนแอของพระองค์ ดังนั้นโดยพระเยซู พระเจ้าจึงได้สถิตอยู่ท่ามกลางมนุษยชาติ

ยอห์นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เรื่องนี้เด่นชัดไม่ใช่เพื่อให้เรารู้จักพระเยซูในลักษณะที่ลึกลับและเป็นปรัชญา แต่เพื่อให้เรารู้จักพระองค์ผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธ์บนพื้นฐานของความเชื่อที่มีศรัทธาอย่างจริงใจ ดังนั้นเขาจึงได้จบพระกิตติคุณเล่มนี้ด้วยคำพูดที่มีชื่อเสียงว่า “แต่การที่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตอยู่โดยพระนามของพระองค์” (ยอห์น 20:31)ความเชื่อของเราซึ่งเจริญขึ้นในความเป็นพระเจ้าของพระเยซูนั้นเป็นจุดมุ่งหมายของพระกิตติคุณยอห์น ความเชื่ออันนี้สร้างชีวิตนิรันดร์ที่บริสุทธิ์และแสดงถึงลักษณะของพระเจ้าในตัวของเรานั่นเอง

พระกิตติคุณยอห์นเขียนขึ้นเพื่อใคร

หนังสือเล่มนี้ เต็มไปด้วยการยืนยันที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพระคริสต์ และไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อประกาศต่อผู้ที่ไม่เชื่อ แต่เขียนขึ้นเพื่อสร้างให้คริสตจักรนั้นเติบโตขึ้น และเพื่อทำให้เป็นผู้ใหญ่ในฝ่ายวิญญาณ เปาโลได้เริ่มต้นคริสตจักรขึ้นแล้วหลายแห่งในอนาโตเลีย และเมื่อเขาถูกจองจำอยู่ในกรุงโรม เปโตรก็ได้เดินทางไปยังคริสตจักรที่ถูกทอดทิ้งและได้หนุนใจพวกเขา เมื่อเปโตรและเปาโลเสียชีวิตลงและเป็นไปได้ที่สุดในช่วงการข่มเหงภายใต้กษัตริย์เนโรในกรุงโรม ยอห์นก็เข้ามาแทนที่พวกเขาและอาศัยอยู่ในเมืองเอเฟซัสซึ่งเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาในเวลานั้น เขาได้เป็นผู้เลี้ยงดูคริสตจักรต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเอเชียไมเนอร์ ใครก็ตามที่ได้อ่านจดหมายและบทที่สองและสามที่เขาเปิดเผยก็จะเข้าใจถึงความวิตกและจุดประสงค์ของอัครทูตท่านนี้ ผู้ที่ทำให้เราชัดแจ้งในเรื่องความรักของพระเจ้าที่บังเกิดอยู่ในพระเยซูคริสต์ ยอห์นได้ต่อสู้กับผู้เชื่อที่มีปรัชญาซึ่งทำการแทรกซึมข่าวสารนั้นผ่านทางผู้คน เหมือนกับหมาป่าและทำให้ลูกแกะเสื่อมทรามด้วยความคิดที่ว่างเปล่า รวมทั้งกฎระเบียบที่เคร่งครัด และด้วยอิสรภาพที่เป็นมลทิน เพราะว่าเขาได้ผสมผสานความจริงเข้ากับความคิดที่ไร้ประโยชน์และไม่ได้เอาจริงเอาจัง

เหล่าสาวกของยอห์นผู้ให้บัพติศมาได้อาศัยอยู่ในอนาโตเลียในเวลานั้นเช่นกัน พวกเขาเป็นพวกที่ให้เกียรติผู้ที่เรียกให้สารภาพบาปมากกว่าพระเยซูพระผู้ช่วยให้รอดเสียอีก แต่พวกเขายังคงคาดหวังพระเมสสิยาห์ผู้ซึ่งมอบพระสัญญาให้โดยคิดว่าพระองค์ยังไม่เสด็จมา ด้วยการพรรณนาถึงบุคคลที่เป็นพระเยซู ยอห์นจึงมีความคิดขัดแย้งต่อกระแสที่แตกต่างเหล่านี้ซึ่งกำลังตั้งตัวต่อต้านพระคริสต์ เขาได้ยกเสียงขึ้นเป็นพยานและเป็นปรปักษ์กับวิญญาณที่ต่อต้านโดยกล่าวว่า “และเราได้เห็นและซาบซึ้งในสง่าราศีของพระองค์ สง่าราศีที่เป็นของพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา เต็มไปด้วยพระเมตตาและความจริง”

กลับปรากฏว่าส่วนใหญ่ของพวกที่ได้รับพระกิตติคุณนี้ เป็นพวกผู้เชื่อที่ไม่ใช่ยิว หรือพวกนอกศาสนา เพราะว่ายอห์นได้เผยแพร่รายละเอียดมากมายต่อพวกเขาเกี่ยวกับชีวิตของชาวยิวชาวยิวไม่จำเป็นต้องอธิบายต่อพวกเขาอีก ยิ่งกว่านั้น ยอห์นไม่ได้พึ่งพิงพระกิตติคุณที่เขาได้เขียนขึ้นตามพระวจนะของพระเยซูซึ่งถูกจารึกขึ้นในเวลานั้นเป็นภาษาอารามิค และได้รับการแปลเป็นภาษากรีกเหมือนกับของเหล่าผู้ประกาศที่เหลืออยู่นั้นแต่เขาได้เลือกที่จะใช้ภาษากรีกมากกว่า ซึ่งเป็นวลีอันเป็นที่รู้จักในคริสตจักรของเขาและเติมให้เต็มด้วยพระวิญญาณของข่าวประเสริฐแล้วยังเป็นพยานต่อพระวจนะของพระเยซูเป็นภาษากรีกล้วน ๆ อีกด้วยด้วยอิสรภาพทั้งหมดที่มี พร้อมกับการอยู่ภายใต้การนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้น พระกิตติคุณอันนี้ถูกเปล่งออกมาโดยไม่ยุ่งยากซับซ้อนและยังมีความลึกซึ้งและประกอบด้วยวาทศิลป์มากมายยิ่งกว่าความพยายามใด ๆ ที่เป็นศิลปะทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้นำเสนอคลังสมบัติแห่งความจริงที่ง่ายในพระกิตติคุณเล่มนี้ต่อเราแล้วเพื่อว่าคนหนุ่มสาวทุกคนจะสามารถเข้าใจความหมายที่ไม่มีวันตายของมันได้

เมื่อไรที่พระกิตติคุณซึ่งแปลกไม่มีใครเหมือนเล่มนี้ถูกเขียนขึ้น

เราขอบคุณพระเจ้าพระเยซูที่พระองค์ได้นำนักโบราณคดีหลายคนผู้ที่ได้กำหนดเส้นทางในอิยิปต์เมื่อหลายปีมาแล้วและค้นพบกระดาษปาปิรุสบางส่วนที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ ค.ศ.1:0 ที่ซึ่งบางวลีของพระกิตติคุณยอห์นได้ถูกเขียนไว้อย่างชัดเจน เพราะการค้นพบครั้งนี้ การอภิปรายยาวนานก็มาถึงจุดจบ และคำพูดถากถางที่มีพิษสงก็ดับสูญเพราะว่าการขุดค้นนั้นได้พิสูจน์แล้วว่าพระกิตติคุณยอห์นเป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ.1:0 ไม่เพียงแต่ในเอเชียไมเนอร์เท่านั้นแต่ในแอฟริกาเหนือด้วย ไม่ต้องสงสัยว่ามันยังเป็นที่รู้จักกันในกรุงโรม ความจริงข้อนี้ได้ทำให้ความเชื่อของเราเข้มแข็งขึ้น ที่ว่าแน่นอนทีเดียวอัครทูตยอห์นเป็นผู้ที่เขียนพระกิตติคุณฉบับนี้ในขณะที่เขาเต็มไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์นั่นเอง

พระกิตติคุณเล่มนี้มีสาระอะไร

ไม่ง่ายสำหรับมนุษย์ที่จะจัดวางพระวจนะที่เป็นแรงบันดาลใจให้เป็นระบบได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันยากที่จะแยกพระกิตติคุณยอห์นให้เป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจน แม้กระนั้น เราขอแนะนำให้คุณทำตามเค้าโครงดังนี้

  1. การฉายแสงของแสงแห่งสวรรค์ (1:1 - 4:54)
  2. แสงที่ฉายในความมืด และความมืดไม่เข้าใจมัน (5:1 - 11:54)
  3. แสงที่ส่องสว่างในวงล้อมของอัครทูต (11:55 - 17:26)
  4. แสงเอาชนะความมืด (18:1 - 21:25)

ยอห์นกำหนดความคิดของท่านเป็นรูปวงแหวนที่เชื่อมต่อกันในห่วงโซ่ฝ่ายวิญญาณ ณ ที่ซึ่งวงแหวนทุกอันถูกวางไว้เป็นจุดสำคัญ ล้อมรอบด้วยหนึ่งหรือสองแนวคิดหรือพระคำหลัก วงแหวนเหล่านั้นไม่ได้แยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์ แต่บางครั้งความหมายของมันก็เข้ามาบรรจบกัน

ความคิดแบบชนเผ่าฮีบรูของยอห์น พร้อมกับนิมิตทางฝ่ายวิญญาณที่ลึกซึ้งนั้นเข้ากันอย่างกลมกลืนกับความมีชีวิตชีวาของภาษากรีกที่ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวที่งดงามและไม่มีใครเหมือน พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ยืนยันกับเราในวลีแห่งพระกิตติคุณจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ สำหรับเราแล้วมันได้กลายเป็นแหล่งแห่งความรู้และสติปัญญาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ใครก็ตามที่ได้ศึกษาหนังสือเล่มนี้อย่างเข้มข้น จะน้อมตัวลงต่อหน้าพระบุตรพระเจ้าและอุทิศชีวิตของตนให้กับพระองค์ในความรู้สึกขอบคุณและสำนึกในพระคุณ ในการสรรเสริญและการปลดปล่อยอันเป็นนิรันดร์

คำถาม

  1. ใครเป็นผู้แต่งพระกิตติคุณฉบับที่สี่
  2. อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระกิตติคุณฉบับที่สี่ และพระกิติคุณสามเล่มแรก
  3. อะไรเป็นจุดมุ่งหมายของพระกิตติคุณยอห์น
  4. พระกิตติคุณที่ไม่เหมือนใครเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใคร
  5. เราจะแยกย่อยพระกิตติคุณยอห์น และ จัดตามหัวข้อได้อย่างไร

www.Waters-of-Life.net

Page last modified on March 12, 2020, at 01:27 PM | powered by PmWiki (pmwiki-2.3.3)